วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หลักการออกแบบกราฟฟิก

ความสำคัญของการออกแบบ
การออกแบบ มีอิทธิพลต่อการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา เกี่ยวข้องกับ ทุกระดับอายุ ทุกเพศ ทุกอาชีพ ทุกคนมีความรักสวย รักงาม ดังสุภาษิตไทยที่ว่า " ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง " เช่น การแต่งกายที่แต่ละคนต่างล้วนเลือกสรรและเลือกอย่างรอบคอบให้เข้ากับบุคลิคและสรีระของตน เริ่มตั้งแต่ ลวดลาย สีเสื้อผ้าจะต้องกลมกลืนเข้ากัน มีผลต่อความสูง ความอ้วน เช่น คนตัวเตี้ยควรจะใส่เสื้อลายเส้นตรงแนวดิ่งที่มีหลายเส้น ส่วนคนอ้วนควรเลือกลายเส้นตรงแนวดิ่งที่มีสามสี่เส้น เน้นสีสดอยู่ส่วนที่เป็นแถบกลางตัว สีเข้มมืดๆอยูแถบข้างลำตัวทั้งสองข้าง เป็นต้น รวมไปถึงเครื่องประดับต่างๆ เช่น แหวน นาฬิกา สร้อยคอ เข็มกลัดติดเสื้อ จนถึงแว่นตา ต้องมีการออกแบบเพื่อให้ถูกใจเหมาะสมผู้ใช้ทั้งสิ้น ถ้ามองไปถึงเก้าอี้นั่ง รูปทรงแบบใดเหมาะกับงานชนิดใด สถานที่ใด เช่น ใช้กับโต๊ะทำงานปกติ ใช้กับโต๊ะคอมพิวเตอร์ ติดตั้งบนรถเก๋ง รถโดยสาร รถไฟฟ้า หรือในโรงภาพยนตร์ การเลือกซื้อรถยนต์ เกินกว่า 70 % เลือกที่รูปทรงและสีของรถ แม้แต่เม็ดยาที่เรากินรักษาโรค ยังต้องออกแบบให้มีสีน่ากิน เคลือบรสหวาน รูปทรงกลม มน กลืนง่าย เป็นต้น
มนุษย์เราให้ความสำคัญในด้านการออกแบบมาก จะเห็นได้ว่าการออกแบบศิลปะนั้นเป็นสิ่งที่ควบคู่อยู่กับความสุนทรียะของมนุษย์ตลอดมา
» หลักการออกแบบกราฟิก
» องค์ประกอบในการออกแบบ
» การผลิตวัสดุกราฟิก
» การใช้วัสดุกราฟิกประกอบการสอน
» การจัดองค์ประกอบ

หลักการออกแบบกราฟิก THE PRINCIPLE OF GRAPHIC DESIGN
ก่อนที่จะทำงานออกแบบกราฟิกประเภทใดก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ การกำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจนของงาน เพราะช่องทาง รูปแบบและวิธีการ ของการนำเสนอมีมาก มีความรวดเร็ว ไร้ขอบเขต เช่นใน เว็ปไซต์ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างๆ ซึ่งต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์ อาจจะทำให้เกิดความสับสน ยุ่งยากในการดำเนินงาน มีผลกระทบต่อการทำงาน เกิดความไม่เป็นระบบ มีการสูญเสียและสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น ดังนั้นผู้ออกแบบจึงควรมีหลักการและข้อควรคำนึงก่อนการเริ่มงานเพื่อการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง รัดกุมและวางแผนการดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตลอดจนจบกระบวนการ ไม่มีปัญหาและอุปสรรค หลักการดำเนินงานออกแบบกราฟิก
หลักการดำเนินงานและการวางแผนขั้นต้นของการออกแบบกราฟฟิกมีดังนี้
1 วัตถุประสงค์เพื่ออะไร ผู้ออกแบบต้องรู้ว่า จะบอกกล่าว เรื่องราวข่าวสารอะไรแก่ผู้รับรู้บ้าง เช่น ทฤษฎีหรือหลักการ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ผู้ออกแบบต้องรู้วิธีการนำเสนอ (Presentation) ที่ดีและเหมาะสมกับเรื่องราวเหล่านั้นว่ามีเป้าหมายของการออกแบบเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น เพื่อแนะนำ เผยแพร่ เพื่อให้ความรู้ หรือความบันเทิงเป็นต้น
2 กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร แบ่งเป็นเพศ ชาย หญิง ่หรือบุคคลทั่วไป มีช่วงอายุเท่าใด นิสิตนักศึกษาหรือเฉพาะกลุ่มสนใจ ข่าวสารที่ให้มีระดับความยาก-ง่าย หรือมีความเป็นสากลหรือไม่ เฉพาะคนในประเทศหรือชาวต่างชาติ ซึ่งผู้ออกแบบจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจเพื่อวางแผน ดำเนินการกับข่าวสาร ออกแบบ และการนำเสนอให้ตรงจุดกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ถูกต้อง
3 สิ่งที่ต้องการบอกคืออะไร หมายถึง วิธีการที่จะสื่อความหมายกับผู้รับรู้หรือกลุ่มเป้าหมาย และถ้าที่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ล่วงหน้า ชัดเจนแล้วก็จะทำให้ผู้ออกแบบมีความสะดวกในการที่จะบอกหรือสื่อความหมายได้ง่ายขึ้น เช่น การเลือกใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และภาพประกอบต่าง ๆสื่อแทนคำศัพท์ ข้อความที่เป็นนามธรรม ได้ตรงตามระดับความสามารถในการรับรู้ของผู้รับ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของข่าวสารนั้น ๆ จำได้ในเวลาอันรวดเร็วและจดจำไว้ตลอดไป
4 นำเสนอข่าวสารด้วยสื่อใด แบบใด ผู้ออกแบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับประเภทของสื่อ ศักยภาพของสื่อชนิดต่างๆ คำนึงถึงการเลือกใช้สื่อในการนำเสนอข่าวสารเป็นรูปแบบใด จึงจะได้ผลดีมีความเหมาะสมกับข่าวสาร และผู้ออกแบบควรจะใช้วิธีการจัดการกับข่าวสารนั้น อย่างไร จึงจะสามารถโน้มน้าวจิตใจและสื่อความหมายต่อผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ

การออกแบบกราฟิก ส่วนใหญ่เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกถึงการสื่อความหมายในลักษณะของตัวอักษรและภาพในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางทัศนสัญลักษณ์ (Visual form) ดังนั้นในการออกแบบจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้เกี่ยว การมองเห็นและจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบในการออกแบบ ( DESIGN ELEMENTS )

1. จุด (Point) จะเป็นจุดที่ชี้ให้เห็น ตำแหน่งในที่ว่าง หรือที่ต่างๆ ไม่มีความกว้าง ความยาว
ความลึก จุดให้ความรู้สึกคงที่ ไม่มีทิศทาง ไม่ครอบคลุมพื้นที่ จุดจะเกิดอยู่ในบริเวณต่างๆดังเช่น จุด A จุด B ดังภาพ
2. เส้น (Line) เส้นเกิดจากการนำจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกัน หรือเกิดจากจุดเคลื่อนที่ เส้นทางที่จุดเคลื่อนที่ไปคือ เส้น มีความยาว ไม่มีความกว้างหรือความหนามาก การกำหนดทิศทางของเส้นให้อยู่ในแนวที่ต่างกัน จะให้ความรู้สึกที่ต่างกัน ดูมั่นคง บางครั้งดูเคลื่อนไหว และเจริญงอกงาม เติบโต เช่น
เส้นตั้ง (Vertical Line) ให้ความรู้สึกสูงสง่า แข็งแรง มั่นคง ถ้าสูงมาก ๆ ก็จะให้ความ รู้สึกไม่ปลอดภัย แต่จะบอกความเติบโต ถ้านำมาประยุกต์ในการแต่งกาย โดยใส่เสื้อ ลายแนวเส้นตั้งฉาก แนวดิ่ง จะช่วยให้ดูสูงขึ้น และถ้าออกแบบให้ดูผอมลง อาจใช้เพียง2-3 เส้น
เส้นนอน (Horizontal Line) ให้ความรู้สึกสงบ ราบเรียบ แน่นอน มั่นคง ปลอดภัย ความนิ่ง พักผ่อนเป็นธรรมชาติ
เส้นเฉียง (Oblique Line) ให้ความรู้สึกไม่มั่นคงไม่ปลอดภัย ตื่นต้น สนุกสนานแสดงการเคลื่อนที่ ไม่อยู่นิ่ง
เส้นโค้ง (Curve) จะให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว นุ่มนวล อ่อนหวาน เชื่องช้า กระชับและเป็นอันหนึ่งอันเดียว
เส้นกระจาย เป็นเส้นที่ออกจากจุดศูนย์กลางให้ความรู้สึก มีพลังกระปรี้กระเปร่า สร้างสรรค์ เดินทางออกไปทุกทิศพร้อมๆกัน พองออก แตกตัว
เส้นลักษณะอื่นๆ เช่น เส้นหยัก เส้นประ เส้นจุดผสมเส้นประ ต่างก็ให้ความรู้แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า จะนำไปประกอบกับรูปอะไร
3. ทิศทาง (DIRECTION) ทิศทาง คือ ลักษณะที่แสดงให้รู้ว่า รูปแบบทั้งหมดมีแนวโน้มไปทางใด ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกว่า มีการเคลื่อนไหว (Movement) นำไปสู่จุดสนใจ
4. รูปทรง (FORM) เกิดจากระนาบที่ปิดล้อมกันทำให้เกิดปริมาตร (Volume) มี 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ รูปทรงเรขาคณิตและรูปทรงธรรมชาติ
- รูปทรงเรขาคณิต ( Geometric Form ) เป็นรูปทรงที่มีด้านแต่ละด้านคล้ายกัน มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระเบียบ มีแกนที่สมดุล มักจะประกอบด้วยเส้นตรงและเส้นโค้ง ที่มีแบบแผน ได้แก่
- รูปทรงธรรมชาติ ( Original Form) มักจะประกอบด้วยเส้นโค้ง (Curves) เส้นอิสระ ทั้งอยู่ในลักษณะสมดุลและไม่สมดุล รูปทรงธรรมชาติจะให้ความรู้สึกอ่อนไหว
- รูปทรงอิสระ (Free Form) รูปด้านแต่ละด้านมักจะไม่สัมพันธ์กัน ไม่มีความสมดุล ไม่เป็นระเบียบ ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวได้
การเปลี่ยนแปลงรูปทรง
เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อความลงตัว ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ หรือมีรูปทรงใหม่ในเชิงเพิ่ม ลดปริมาตร การแยกส่วน การเจาะทะลุเป็นต้น เช่น

เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดู
จากการออกแบบกลับพื้นภาพ ทำให้เกิดการสร้างสรรค์งาน เป็นสัญลักษณ์ (Logo) และเป็นที่นิยม เพราะมีความแปลกใหม่ น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีผลของการมองเห็นว่า ภาพสีขาวที่อยู่ในพื้นสีดำ จะทำให้ดูโตขึ้น 10-15 % สังเกตภาพตัวอักษร A ในข้อที่ 6 ตัวอักษรดำและขาวโตเท่ากันในการทำต้นแบบ เมื่อตัว A อีกตัวหนึ่งไปอยู่ในพื้นดำทำให้ดูโตกว่า เทคนิคนี้นิยมนำไปใช้ทำตัวอักษรพาดหัวข่าวสำคัญในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์
ตัวอย่างสัญลักษณ์ (Logo) ที่กลับพื้นหรือใช้เทคนิค ส่วนสีขาวในสีดำ
( ภาพสัญลักษณ์ มาจากหนังสือ โลโก้ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ 2542 )
ขนาดและสัดส่วน (Size & Scale)ขนาด (Size)
ขนาด คือ การเปรียบเทียบรูปร่างหรือรูปทรง การวัดสัดส่วน ระยะหรือขอบเขต
ของรูปร่างนั้นๆสัดส่วน (Scale)
สัดส่วน คือ ความเหมาะสมของสิ่งของตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป มีความสัมพันธ์กัน
การหาความสัมพันธ์ของขนาดและสัดส่วนในการออกแบบต้องคำนึงถึงขนาดและสัดส่วนของผู้ใช้และกิจกรรมภายในเป็นหลัก ในงานออกแบบโดยทั่วไป มีหลักเกี่ยวกับขนาดและสัดส่วนดังนี้
- ขนาดที่แตกต่างกัน จะให้ความรู้สึกขัดกัน (Contrast)

- ขนาดใกล้เคียงกัน ให้ความรู้สึกกลมกลืนกัน (Harmony)

- ความแตกต่างของขนาดทำให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหว (Dynamic)
วัสดุและพื้นผิว ( Material and Texture )วัสดุ (Material)
วัสดุ คือ วัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการออกแบบ โดยเลือกความเหมาะสม ตรงตามลักษณะของงาน ถ้าทำลงบนกระดาษวาดเขียน อาจเป็นรูปลอกลวดลายต่างๆแบบทึบแสง ถ้าทำลงบนแผ่นโปร่งใสก็ใช้รูปหรืออักษรลอกแบบสีโปร่งแสง เป็นต้น พื้นผิว (Texture)
พื้นผิว คือ ลักษณะเฉพาะ ที่เกิดจากโครงสร้างของวัสดุ อาจนำวัตถุดิบหลาย ๆ อย่างมา สร้างให้เกิดพื้นผิวใหม่ หรือความรู้สึกในการแยก จำแนกความเรียบความขรุขระ ความแตกต่างของพื้นผิวในทางกราฟิก สามารถแยกออกได้ด้วยประสาทสัมผัส ทางตา เป็นส่วนใหญ่ พื้นผิวที่แตกต่างกันจะให้ความรู้สึกต่างกัน เช่น
ผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกปลอดภัย มั่นคง แข็งแรง สาก สะดุด หยาบ ระคายเคือง ในบางสถานะทำให้ดูเล็กกว่า ความจริง เช่น ผิวขรุขระของกำแพงที่ก่อด้วยศิลาแลงหรือหิน กาบ จะดูแข็งแรงบึกบึน ในการสร้างงานกราฟิกลงบนกระดาษ เช่น รูปหลังคาบ้านลายสังกะสี กระเบื้องลอนแบบต่างๆ ผนังตึก ซึ่งลวดลาย ขรุขระ เหล่านี้จะนำมาจากแผ่นรูปลอก ซึ่งใน ปัจจุบันใช้ลวดลายสำเร็จรูปจากคอมพิวเตอร์

ผิวเรียบมัน ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง ลื่น หรูหรา วาบหวาม สดใส แสงสะท้อน ในบางสถานะทำให้ดูใหญ่กว่าปกติ เช่น ผนังตึกที่ฉาบปูนเรียบหรืออาคารที่เป็นกระจกทั้งหลัง จะดูเปราะบาง แวววาว ตัวอย่างงานกราฟิกที่ต้องการความเป็นมันวาว ที่ใช้เทคนิคแผ่นรูปลอกที่มีลายไล่โทนสำเร็จรูป
ตัวอย่างภาพกราฟิกที่สร้างความเป็นมันวาวด้วย เทคนิคพู่กันลม(airbrush) ผสมกับการวาดด้วยมือ
ระนาบ (Plane)
ระนาบ คือ เส้นที่ขยายออกไปในทางเดียวกัน จนเกิดเป็นพื้นที่ขึ้นมา แบ่งได้ดังนี้
1. Overhead plane ระนาบที่อยู่เหนือศีรษะอยู่ข้างบน ให้ความรู้สึกปลอดภัย เหมือนมีหลังคาคลุม มีสิ่งปกป้องจากด้านบน
2. Vertical plane ระนาบแนวตั้ง หรือตัวปิดล้อม เป็นส่วนบอกขอบเขตที่ว่าง ตามแนวนอน ความกว้าง ความยาว
3. Base plane ระนาบพื้น ระดับดิน หรือระดับเสมอสายตา อาจมีการเปลี่ยนหรือเล่นระดับเพื่อให้เกิดความรู้สึกต่างๆ

ขอบคุณสำหรับที่มา : http://webcache.googleusercontent.com/